ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) อาการยอดฮิตชีวิตคนทำงาน

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร?

ออฟฟิศซินโดรม คือ อาการปวดกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากการทำงาน โดยไม่ขยับหรือผ่อนคลายเปลี่ยนอิริยาบถนานเกินไป มักจะเกิดบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก และหลัง ซึ่งถ้าหากปล่อยทิ้งไว้สักพักอาจกลายเป็นการปวดเรื้อรังได้ หรืออาการชาที่แขนและมือจนมีอาการรุนเเรงมากขึ้นตามมา ซึ่งอาการเหล่านี้มักพบได้บ่อยในคนทำงานในออฟฟิศแทบจะทุกอาชีพ

โรคนี้มักพบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศ ที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เดิมๆซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยไม่ได้ขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถรวมถึงอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึงจึงเป็นสาเหตุหลักและปัจจัยสำคัญให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรม ดังนั้น การไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องเพื่อป้องกันไม่ให้ แต่ถ้าหากใครยังไม่สะดวก ก็สามารถรักษาตัวเองเบื้องต้นโดยวิธีการรักษา ก็คือ
-ทำท่าบริหารร่างกายอย่างง่าย ช่วยให้อาการทุเลา ไม่เป็นหนักขึ้น
-การยืดกล้ามเนื้อในขณะกำลังทำงานเป็นระยะ ๆ
-นวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือนวดโดยใช้ครีมแก้ปวด แปะแผ่นเจลประคบ
หรือรับประทานยาแก้ปวด
-การฝั่งเข็ม
-การออกกำลังกายแบบเพิ่มความหยืดหยุ่น
แต่ถ้าใครมีอาการเรื้อรังหรือรุนเเรงก็ควรควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาเพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด

รวมอาการคนทำงานที่เสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม

เราลองมาเช็คพฤติกรรมเสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรมกันดีกว่า ว่าเรามีอาการเสี่ยงเเค่ไหน เพราะไม่ใช่เเค่คนทำงานที่เสี่ยงเป็นโรคนี้แต่ใครๆก็สามารถเป็นได้ไม่ใช่แค่การนั่งทำงานนานเกินไปเท่านั้นแต่ยังมีอีกหลายพฤติกรรม ที่เราทำกันเป็นประจำ และส่งผลร้ายต่อสุขภาพ

1. กดแป้น คลิกเมาส์ต่อเนื่อง
2. ไขว่ห้าง หลังค่อม ห่อไหล่
3. จ้องนาน วางไม่ได้ เครียดเกินไป
4.กินอาหารไม่ตรงเวลา
5.ตั้งจอคอมพิวเตอร์สูง หรือ ต่ำกว่าระดับสายตา
6.โต๊ะทำงานและเก้าอี้ มีระดับไม่พอดีกับร่างกาย
7.ใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ดห่างจากตัวเกินไป
8.นั่งนาน โดยไม่ขยับตัว
9.เครียดจากงาน อดอาหาร หรือ พักผ่อนไม่เพียงพอ

ลองมาดูกันดีกว่าว่า ออฟฟิศซินโดรม มีสาเหตุมาจากอะไร

สาเหตุออฟฟิศซินโดรม

-การอยู่ในอิริยาบถเดิมนานเกินไป เช่น นั่งทำงานเป็นเวลานานโดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนท่านั่งหรือลุกออกไปยืดเส้นยืดสายเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อเลย
-อยู่ในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน
-การใช้สายตาเพ่งมองจอมากเกินไป ซึ่งอาาจเป็นได้กับคนทุกวันที่ติดโทรศัพท์
-เครียด จากการทำงานหนักเกินไป
อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าโรคนี้จะไม่สามารถป้องกันได้เราลองมาดูเเนวทางการป้องกันตัวจากโรคนี้กันดีกว่า

การป้องกันเพื่อลดการเกิดปัญหาออฟฟิศซินโดรม

ปรับเปลี่ยนท่าทางอริยาบทเพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมในการทำงานและควรควรหยุดพักสัก 10-15 นาที
ปรับโต๊ะเก้าอี้ให้เหมาะกับสรีระ
ลดการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานๆ
ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
พักสายตาทุก 20 นาที
ยังไงการป้องกันดีกว่าการรักษา โรคออฟฟิศซินโดรม ถึงไม่อันตรายโดยตรงแต่ก็ควรป้องกันตัวตั้งเเต่เนิ่นๆ เพราะออฟฟิศซินโดรมเกิดจากพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะในชีวิตประจำวัน การพักเบรกยืดเส้นยืดสายเป็นระยะระหว่างการทำงานหรือกิจกรรมที่ติดต่อกันเป็นเวลานานและปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับชีวิตประจำวัน การผ่อนคลายความเครียด จะช่วยให้ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม

  • Share

Related Posts

HRM หัวใจสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สำหรับ HR ในปัจจุบัน

Human Resources Management ( บริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ) เป็นหัวใจสำคัญของ HR ในยุคปัจจุบัน ในฐานะ HR ต้องเป็นบุคคลที่สามารถเข้าถึงเข้าถึงปัญหาและมีแนวคิดการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้ดียิ่งๆขึ้นไป

Outsource คือ รู้ไว้ก่อนเป็น Outsource ทางเลือกที่ใช่สำหรับคนรุ่นใหม่

Outsource คืออะไรหลายคนคงรู้จักอาชีพ Outsource กันเเล้วนับเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่คนรุ่นใหม่อยากเป็นกันซึ่งก็มีทั้งข้อดี ข้อเสีย ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคลด้วย